วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

การผันแปรของเปลือกโลก

1)การผันแปรของเปลือกโลก 2 ลักษณะ
-การผันแปรของเปลือกโลกแบบเสริมสร้าง (Tectonic process)
-การผันแปรของเปลือกโลกแบบการจัดระดับ(Gradational process)เป็นการผันแปรของเปลือกโลกที่เกิดจากพลังงานภายนอกและเกิดอย่างช้าๆกินเวลานาน เช่น การทับถม การสึกกร่อน

2)การกระทำของมนุษย์ โดยการสร้างหรือดัดแปลงของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อน
เปลือกโลกมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งในระยะเวลาสั้น หรือเกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆโดยมีพลังต่างๆ ที่ทำให้เกิดการผันแปรเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก 2 ชนิด คือ

1. พลังที่เกิดภายในโลก ภายในโลกยังร้อนอยู่ พลังความร้อนนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก อย่างรวดเร็ว โครงสร้างของเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงในรูปของแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด เรียกว่า การผันแปรโดยกระบวนการเทคโทนิค (Tectonic Process) หรือกระบวนการแปรโครงสร้าง
2. พลังที่มาจากภายนอกโลก เป็นพลังความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ พลังความร้อนนี้จะส่งผ่านตัวการ ต่างๆ เช่น ฝน แม่น้ำ น้ำใต้ดิน คลื่นทะเล ธารน้ำแข็ง ลม มาทำให้พื้นผิวโลกเกิดการผันแปรเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เรียกการผันแปรชนิดนี้ว่า การผันแปรโดยกระบวนการจัดระดับ (Gradational Process)



การแปรผันของเปลือกโลกเกิดจากพลังงานภายนอกโลก

การผันแปรของเปลือกโลกโดยกระบวนการจัดระดับ (Gradational Process) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ที่จะทำให้ระดับของเปลือกโลกเสมอกัน โดยใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ร่วมกับพลังแรงดึงดูดของโลกตัวกระทำที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ (กระบวนการจัดระดับ)

ตัวการทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก
ลักษณะการแปรผันของเปลือกโลก
1) เป็นกระบวนการจัดระดับ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ
2) เกิดหลังจากการผันแปรเปลือกโลกแบบแรก
3) เกิดการ “กษัยการ” (erosion) หมายถึง กระบวนการสึกกร่อนพังทลายของเปลือกโลกและถูกพัดพาไปจากแหล่งกำเนิด ด้วยตัวกลางทางธรรมชาติต่างๆ เช่น ลม ธารน้ำแข็ง น้ำไหล
4) ตัวการทางธรรมชาติ ( Agent) ที่ทำให้เกิดภูมิประเทศแบบต่างๆ ได้แก่
-น้ำฝน,น้ำใต้ดิน ทำให้เกิดถ้ำหินงอก/หินย้อย น้ำตก แผ่นดินถล่ม พุน้ำร้อน กีเซอร์ ถ้ำใต้ดิน ร่องดิน
- คลื่นและกระแสน้ำทะเล ทำให้เกิดชายหาด สันทราย ถ้ำชายฝั่ง (ถ้ำทะเล ถ้ำรอด) หน้าผาทะเล ลากูน โขดหินรูปแปลกๆ
-แม่น้ำ ทำให้เกิดที่ราบน้ำท่วมถึง กุมภลักษณ์ ที่ราบดินดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ทะเลสาบรูปแอก เนินตะกอนรูปพัด
- ธารน้ำจากภูเขา ทำให้เกิดหุบเขารูปตัว v (หุบผาชัน โตรกเขา) แก่ง น้ำตก
- กระแสลม ทำให้เกิดโขดหินรูปเห็ด เนินทราย ชั้นฝุ่น แอ่งทะเลทราย โอเอซิส
- ธารน้ำแข็ง ทำให้เกิดชายฝั่งแบบฟยอร์ด ภูเขาน้ำแข็งในทะเล ( Iceberg) แพเศษหิน ธารน้ำแข็ง หุบเขารูปตัว U ทะเลสาบ



ผลที่เกิดขึ้น
1) เกิดลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย (Minor Landforms)ขึ้น
2) ทำให้เกิดภูมประเทศ 2 ชนิด
(1)การกัดกร่อนพังทลาย หมายถึง การทำลายผิวโลกให้ต่ำลงไปโดยธรรมชาติหรืออำนาจของลมฟ้า อากาศ
(2) การสะสมเสริมสร้าง หมายถึง การปรับผิวโลกให้ต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อนานเข้าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศได้
(3)เกิดการแปรผันเปลือกโลก 3 ขั้นตอน คือ กัดเซาะ สึกกร่อนพังทลาย เคลื่อนที่ พัดพา ทับถม






กรรมวิธีปรับระดับ (Gradation process)
กรรมวิธีปรับระดับ (Gradation process) กระบวนการแปรสัณฐานทำให้เปลือกโลกแต่ละบริเวณมีสัณฐานโครงสร้างและความสูงต่ำแตกต่างกันไป กรรมวิธีปรับระดับ เป็นวิธีการต่างๆ ที่ตัวกระทำอันได้แก่ แม่น้ำ ลำธาร น้ำใต้ดิน ลม ธารน้ำแข็ง กระแสน้ำ คลื่น สิ่งมีชีวิต แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น มีกระบวนการที่เกี่ยวข้องได้แก่ การผุผังอยู่กับที่ (weathering) การเคลื่อนที่ของมวลสาร (mass wasting) และการกัดกร่อน (erosion)





Mechanical Weathering




Biological Weathering




Mass wasting






Erosion




Link -ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/7/index_ch_7.htm
http://www2.srp.ac.th/~saowanee/prian.ppt#274,20,การปรับระดับผิวแผ่นดิน





ตัวกระทำที่เกิดจากมนุษย์


มนุษย์ต้องการดิน หินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้างและสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงต้องค้นหาและขุดดิน หินและแร่ธาตุดังกล่าว ซึ่งมีอยู่ในเปลือกโลกขึ้นมาใช้ประโยชน์ บางครั้ง การสร้างอาคาร ถนน เขื่อน และอุโมงค์ จำเป็นต้องปรับพื้นที่ อาจต้องมีการขุดเจาะลงในชั้นดิน หิน เพื่อวางระบบฐานรากของสิ่งก่อสร้าง ตลอดจนการระเบิดภูเขา เพื่อเอาหินมาสร้างถนน สร้างอุโมงค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง
· การตัดไม้ทำลายป่า
· การเกษตรกรรม
· การชลประทาน
· การทำเหมืองแร่
· การทำอุตสาหกรรมและสิ่งก่อสร้าง







ตัวกระทำที่เกิดจากธารน้ำแข็ง




เราสามารถจำแนกชนิดของธารน้ำแข็งที่พบอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลกโดยใช้สถานที่กำเนิด และรูปร่างลักษณะเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา พบว่าสามารถจำแนกได้ 2 ชนิด คือ ธารน้ำแข็งหุบเขา (Valley Glacier) คือมวลน้ำแข็งที่อยู่บนภูเขาสูง มียอดอยู่เหนือเส้นขอบหิมะ อันเป็นแนวระดับต่ำสุดของพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี ธารน้ำแข็งมีการเคลื่อนตัวลงมาตามหุบเขาอันเนื่องมาจากการสะสมตัวของปริมาณหิมะที่ตกลงมา รูปร่างของธารน้ำแข็งจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพหุบเขา
ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป (Continental Glacier) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พืดน้ำแข็ง” (Ice - Sheet) รวมถึง “ทุ่งหิมะ” (Snow Field) เป็นบริเวณที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี พบในบริเวณเขตละติจูดสูงซึ่งมีหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในรูปหิมะ เช่น บริเวณเกาะกรีนแลนด์ และทวีปแอนตาร์กติกา หิมะที่ตกลงมาปกคลุมพื้นดินจะค่อยๆ ทับถมเพิ่มความหนา และครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างขึ้น และความหนาแตกต่างกัน พื้นผิวของธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีปมีลักษณะค่อนข้างราบ ลาดเอียงไปในทิศทางการไหล และมักไหลออกไปสู่ท้องทะเล ทำให้แตกออกเป็นก้อนขนาดใหญ่และลอยสู่ทะเลลึก ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีปที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ การปกคลุมของพืดน้ำแข็งบริเวณแถบชายฝั่งจนเกิดเป็น “หิ้งน้ำแข็ง” (Ice Shelf) ที่มีชื่อเสียงได้แก่ “หิ้งน้ำแข็งรอสส์” บริเวณทวีปแอนตาร์กติกา หิ้งน้ำแข็งรอสส์ (Ross Ice Shelf) มีเนื้อที่เต็มบริเวณอ่าวที่เว้าเข้าไปในตัวทวีปมีความกว้างประมาร 800 กิโลเมตร ยาวลึกเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 970 กิโลเมตร มีหน้าผาด้านที่หันสู่ทะเลมีความสูงประมาณ 60 เมตร ในบางตอน และความหนาของน้ำแข็งหนาถึง 750 เมตร ผิวหน้าของพืดน้ำแข็งมีลักษณะเป็นลูกคลื่นเล็กๆ หิ้งน้ำแข็งนี้มีอัตราการเคลื่อนตัวออกสู่ทะเลในอัตราที่สม่ำเสมอระหว่าง 1.5 - 3.0 เมตรต่อวัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าหิ้งน้ำแข็งรอสส์มีสภาพหมุนเวียนตลอดเวลาโดย ธารน้ำแข็งที่ไหลมารวมตัว ทางด้านหลังทำให้ขนาดของหิ้งน้ำแข็งรอสส์ใหญ่ขึ้น หิมะที่ตกลงมาก็อัดทับถมตัวกันมากขึ้น ประกอบกับน้ำทะเลที่แข็งตัวทำให้ด้านล่างของหิ้งน้ำแข็งนี้มีความหนาขึ้น และเมื่อแรงกดอัดทับถมของหิมะ และแรงดันของน้ำแข็งมีมากขึ้น หิ้งน้ำแข็งจะเคลื่อนตัวออกสู่มหาสมุทรไปเรื่อยๆ และบริเวณส่วนของหิ้งน้ำแข็งที่มีการเคลื่อนตัวออกสู่มหาสมุทรบางส่วนจะมีรอยแตกออกมาตามขอบของพืดน้ำแข็งจนเกิดการหลุดออกจากพืดน้ำแข็งเราเรียกว่ากระบวนการนี้ว่า “การหลุดตัว” (Calving) ส่วนที่หลุดออกไปจะมีขนาดใหญ่มาก เราเรียกว่า “ภูเขาน้ำแข็ง” (Iceberg) ลอยไปตามกระแสน้ำ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาทิศทางการไหลของกระแสน้ำบริเวณขั้วโลก
ดั้งนั้นจะเห็นได้ว่าธารน้ำแข็งได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลกเช่นเดียวกับกระแสน้ำซึ่งพัดพาเอาตระกอนของหินดินทรายไป ส่งผลให้ความสูงของเทือกเขานั้นต่ำลงจนเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่มความสูงจากการโก่งตัวของแผ่นเปลือกโลกอีกด้วย







Link -ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/11/index_ch_11.htm










ตัวกระทำที่เกิดจากน้ำ




น้ำทำให้เกิดการกัดกร่อน(Erosion) เป็นการปรับระดับของเปลือกโลก- การกัดกร่อนที่เกิดจากน้ำฝนไหลแผ่กว้างเรียกการกัดกร่อนเป็นแผ่น หากไหลอย่างรุนแรงเกิดการกัดกร่อนเป็นร่องรียก gully erosion - น้ำจะพัดพาตะกอนมาทิ้งทับถมเป็นดินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) - หากไหลผ่านพื้นที่ที่มีความต่างระดับลาดชันน้อย จะเกิดการกัดเซาะด้านข้าง ไหลโค้งตะวัด ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินทิ้งร่องเก่าเกิดทะเลสาบรูปแอกหรือที่เรียกว่ากุด(oxbow lake) - น้ำพัดพาเอากรวด ทรายมาขัดสีกับหินฐานที่เป็นหินทราย หรือหินดินดาน เกิดเป็นรู หากกัดสีหมุนวนอยู่ที่ก้นแอ่งเกิดเป็นรูข้างบนแคบ กว่าด้านล่างคล้ายหม้อดิน เรียก รูรูปหม้อ(pothole) มักจะพบบริเวณน้ำตก ธารน้ำเดิม- น้ำฝนที่ตกลงมาไหลกัดเซาะพื้นที่บริเวณที่มีหินฐานผ่านกระบวนการต่างๆจนผุเปื่อยป่าไม้ปกคลุมถูกทำลายเกิดการกัดเซาะสึกกร่อนแนวดิ่งผิวบนยังคงอยู่เป็นแท่งเช่น แพะเมืองผีที่ จ.แพร่


Link -ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/8/index_ch_8.htm
http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/9/index_ch_9-4.htm






ตัวกระทำที่เกิดจากลม


ลักษณะภูมิประเทศจากกษัยการของลม จากกระบวนการกษัยการของลมอันเนื่องมาจากการพัดกราด การครูดไถและการกัดกร่อนที่เกิดในพื้นที่แถบทะเลทรายจะทำให้เกิดสภาพลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป



Link -ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/12/index_ch_12.htm
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.ga.lsu.edu/hesp/images/50.JPG&imgrefurl=http://www.ga.lsu.edu/hesp/dunes.html&usg=__znyXihM5aemfiivgaAiYLpVUWqI=&h=413&w=600&sz=66&hl=th&start=15&um=1&tbnid=5iAj1xKets1gpM:&tbnh=93&tbnw=135&prev=/images%3Fq%3DParabolic%2BDune%26hl%3Dth%26rlz%3D1R2ADFA_enTH335%26sa%3DG%26um%3D1







ผู้จัดทำ




น.ส. กรกนก บุญกำเหนิด เลขที่ 5
น.ส. ศศธร โกศลศักดิ์สกุล เลขที่ 12
นาย ภฤศยง จันทรากุลนนท์ เลขที่ 25
น.ส. วริษฐา สิริเวทย์วิทยา เลขที่ 29
น.ส. ศิริวรรณ โพธิ์ประยูร เลขที่ 39

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/12













แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม




http://www.earthsci.org/geopro/geopro.html
http://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/9/index_ch_9.htm
http://www.vajiravudh.ac.th/LearningZone/earthchanged/Chapter7/effect1.htm#TH3

http://www.thaigoodview.com/node/18325?page=0%2C18
http://www2.srp.ac.th/~saowanee/prian.ppt#274,20,การปรับระดับผิวแผ่นดิน
http://www.neutron.rmutphysics.com/science-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=12949&Itemid=5 http://www.uwsp.edu/geo/faculty/ritter/geog101/textbook/mass_movement_weathering/weathering.html
http://ecurriculum.mv.ac.th/science/m2/sci2_5/w4.html
www.THE LESA project















































































































































1 ความคิดเห็น:

  1. Raffles, Slot machine games - DrMCD
    › casino › games › games › games › games › games › 충청남도 출장안마 games 제천 출장샵충청남도 출장샵 casino › games › games › games Get into a classic casino, play one of the most popular slots games today. DrMCD's new 태백 출장샵 slots machines feature free spins 군포 출장안마 bonus round

    ตอบลบ